ข้อมูลบริการด้านนวัตกรรม-
• รายละเอียดของบริการ
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (พ.ศ. 2561 – 2580) มุ่งเน้นพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความทันสมัย ภาครัฐมีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ มีสมรรถนะสูง ตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนและสนับสนุนให้เป็นประเทศไทย 4.0 ที่สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนด้วยหลักการ “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” ในแผนย่อยที่ 1 การพัฒนาบริการประชาชน เน้นการให้บริการภาครัฐที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส ให้เป็นภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุมัติ อนุญาตจากทางราชการ โดยสามารถกรอกแบบฟอร์ม ยื่นเอกสารหลักฐานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปติดต่อที่หน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง

ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความน่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัย มีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและระบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการให้สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้แบบครบวงจร ยื่นที่เดียว แบบฟอร์มเดียว เอกสารชุดเดียว และติดตามได้ ทุกใบอนุญาต ที่ bizportal.go.th ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลในการลดภาระด้านเอกสารและการเดินทางในการมารับบริการจากภาครัฐ รวมถึงสามารถติดตามสถานะการดำเนินงานด้วยตัวเองได้ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้ทำการยกระดับสมรรถนะของระบบและยกระดับการให้บริการให้เป็นดิจิทัลโดยสมบูรณ์ (Fully Digital) ตั้งแต่การยื่นคำขอ การชำระค่าธรรมเนียม และการออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งใบอนุญาตเดิมที่ให้บริการผ่านระบบ Biz Portal แล้ว และงานบริการใหม่ ซึ่งในปัจจุบันระบบ Biz Portal ให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต หรือเอกสารต่าง ๆ รวม 94 ใบอนุญาต ใน 25 ประเภทธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร และให้บริการ 18 ใบอนุญาต ใน 10 ประเภทธุรกิจ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมการให้บริการขออนุญาตรายใหม่ ต่ออายุ แก้ไข/เปลี่ยนแปลง และยกเลิก พร้อมทั้งยกระดับการให้บริการ 36 ใบอนุญาตให้เป็นดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ (Fully Digital) แล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 ที่ผ่านมา

คำนิยาม
ผู้ประกอบการ หมายถึง ประชาชน หรือนิติบุคคล ที่จำเป็นต้องมีหนังสือรับรอง ใบอนุญาต หรือจำเป็นต้องได้รับบริการจากรัฐ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
บริการ (Service) หมายถึง กระบวนการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ หรือการดำเนินการอื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การรับคำขอ (Request) จากผู้ประกอบการ การตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ การพิจารณาอนุมัติอนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ การออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการ
หน่วยงานผู้ให้บริการ (Service Producer) หมายถึง หน่วยงานที่ผู้รับผิดชอบกระบวนการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ หรือการดำเนินการอื่น ๆ ให้กับผู้ประกอบการ
ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ
ผู้ประกอบการ

สามารถได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐได้โดยสะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านช่องทางดิจิทัล
สามารถติดตาม และได้รับแจ้งเตือนความคืบหน้าของการขอรับบริการ
หน่วยงานผู้ให้บริการ

เพิ่มช่องทางในการบริการผู้ประกอบการผ่านระบบดิจิทัล อันเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการ
หน่วยงานที่ยังไม่มีระบบสนับสนุนการให้บริการ สามารถใช้ระบบ Biz Portal ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ในการให้ผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาต เป็นต้น

ลักษณะเชิงเทคนิค (System Flow)
การให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ขอรับบริการ ผ่านระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) เกี่ยวข้องกับระบบย่อยต่าง ๆ (Micro Services) ที่ให้บริการโดย สพร. ดังนี้

ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนประชาชน/ผู้ประกอบการ (Identity Proofing and Authentication)
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) รองรับการขอหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการ รวมถึงรองรับการติดตามความคืบหน้าในการขอรับบริการ
ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Service Backend) รองรับการดำเนินงานของหน่วยงานผู้ให้บริการ หลังจากที่ผู้ขอรับบริการยื่นคำขอรับบริการมาแล้ว ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ การพิจารณาอนุมัติอนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ การออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ขอรับบริการ
ระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange : GDX) รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต โดยหน่วยงานผู้ให้บริการ เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎรจากกรมการปกครอง ข้อมูลทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

ในการให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ขอรับบริการ ระบบย่อยต่าง ๆ จะมีการทำงานร่วมกัน ตามแผนภาพการไหลของข้อมูล (System Flow) ข้างบน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ประกอบการทำการยืนยันตัวตน (Login) กับ ระบบ Digital ID โดยหากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการจะต้องสมัครขอบัญชีผู้ใช้งานก่อน
กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สามารถระบุข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing) ซึ่งครอบคลุมถึง ข้อมูลชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด รหัสเลเซอร์โค้ดหลังบัตรประชาชน
กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล สามารถสมัครขอรับบัญชีผู้ใช้งานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้
เมื่อผู้ประกอบทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ระบบ Digital ID จะนำประชาชน/ผู้ประกอบการไปยังหน้าจอของ ระบบ Biz Portal พร้อมส่งข้อมูลของผู้ประกอบการ (User Profile) ไปยังระบบ Biz Portal
ผู้ประกอบการใช้ ระบบ Biz Portal เลือกใบอนุญาต/บริการที่ตนต้องการ ทำการกรอกข้อมูลตามแบบคำขอใบอนุญาต/บริการที่ตนเลือก รวมถึงแนบเอกสาร/หลักฐานประกอบตามที่หน่วยงานร้องขอ และยืนยันการยื่นคำขอ
ระบบ Biz Portal ทำการส่งข้อมูลตามแบบคำขอใบอนุญาต/บริการไปยัง ระบบService Backend เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทราบ และดำเนินการตามขั้นตอนในให้บริการต่อไป
ระบบ Service Backend ทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ Government Data Exchangeเช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร (จากกรมการปกครอง) ข้อมูลนิติบุคคล (จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบ Service Backend เพื่อพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต ซึ่งครอบคลุมขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ
เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดคำขอ/เอกสารประกอบ
บันทึกผลการพิจารณาความครบถ้วน/ถูกต้องของข้อมูลและเอกสาร
แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติอนุญาต
เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดคำขอ/เอกสารประกอบ และอาจรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต (เช่น คณะกรรมการ)
บันทึกผลการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต
แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ขั้นตอนการรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
เจ้าหน้าที่บันทึกค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบการต้องชำระ
แจ้งค่าธรรมเนียมให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียมตามช่องทางที่หน่วยงานกำหนด
ผู้ประกอบการแจ้งผลการชำระค่าธรรมเนียม พร้อมแนบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และยืนยันการชำระค่าธรรมเนียม
ขั้นตอนการออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ขอรับบริการ
เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือรับรอง/ใบอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) และเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
ผู้มีอำนาจพิจารณาความครบถ้วน ถูกต้องของหนังสือรับรอง/ใบอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์ และทำการลงลายมือชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)
แจ้งผลการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ทั้งนี้ ขั้นตอนย่อยในข้อ 6 อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต หรือการให้บริการของหน่วยงาน เช่น บางบริการอาจไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นต้น

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานผู้ให้บริการ

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 4 “เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและ เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล โดยมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพและ อำนวยความสะดวกในการให้บริการและการเข้าถึงของประชาชน และในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อ สาธารณะและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 10 (5) “สนับสนุนการเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน”
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562 มาตรา 8 (5) “พัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย”
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา ๑๐ “ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ”
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) ติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์ที่ให้บริการ และบริหารจัดการ โดย สพร. ระบบคลาวด์ภาครัฐดังกล่าวมีระดับเสถียรภาพ (SLA) ไม่น้อยกว่า 99.5% และเป็นระบบที่มีมาตรการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลอย่างรัดกุม มีความปลอดภัยสูง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013 ระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management Systems – ISMS)

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน และระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

นอกจากนี้ ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ ดังนี้

การพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ ของ สพร. ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 9001
ก่อนที่จะเปิดแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริการจริง แอปพลิเคชันระบบ และแพลตฟอร์มดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบ ทั้งในด้านคุณสมบัติ (Functional Test) และด้านอื่นๆ (Non-Functional Test) เช่น Performance Test และ Security Test โดยผลการทดสอบต้องแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้โดยสมบูรณ์ มีระดับความมั่นคงสูง (Highly Available) มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่ำ
สพร. ทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม (Security Test) โดยใช้อย่างน้อย 2 วิธี ดังนี้

วิธี Static Application Security Testing (SAST) ซึ่งเป็นการตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มที่เขียนขึ้น ว่าเป็นการเขียนโปรแกรมที่มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี หรือถูกเจาะโดยผู้ไม่หวังดีมากน้อยเพียงใด
วิธี Vulnerability Assessment (VA) ซึ่งเป็นการตรวจสอบแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่ติดตั้งแล้วในภาพรวม ว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีเนื่องจากการตั้งค่า (Settings) ต่างๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่
การติดต่อขอใช้บริการ
ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) สามารถเข้าใช้บริการได้ทันทีที่เว็บไซต์ https://bizportal.go.th
หน่วยงานภาครัฐที่สนใจใช้บริการ ติดต่อได้ที่ DGA Contact Center โทร 02-612-6060 หรืออีเมล์ contact@dga.or.th
• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• Keyword :
Biz Portal, เพื่อภาคธุรกิจ, ศูนย์กลางบริการภาครัฐ
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal)

ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (พ.ศ. 2561 – 2580) มุ่งเน้นพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความทันสมัย ภาครัฐมีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ มีสมรรถนะสูง ตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนและสนับสนุนให้เป็นประเทศไทย 4.0 ที่สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนด้วยหลักการ “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” ในแผนย่อยที่ 1 การพัฒนาบริการประชาชน เน้นการให้บริการภาครัฐที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส ให้เป็นภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุมัติ อนุญาตจากทางราชการ โดยสามารถกรอกแบบฟอร์ม ยื่นเอกสารหลักฐานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปติดต่อที่หน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง

ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความน่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัย มีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและระบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการให้สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้แบบครบวงจร ยื่นที่เดียว แบบฟอร์มเดียว เอกสารชุดเดียว และติดตามได้ ทุกใบอนุญาต ที่ bizportal.go.th ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลในการลดภาระด้านเอกสารและการเดินทางในการมารับบริการจากภาครัฐ รวมถึงสามารถติดตามสถานะการดำเนินงานด้วยตัวเองได้ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้ทำการยกระดับสมรรถนะของระบบและยกระดับการให้บริการให้เป็นดิจิทัลโดยสมบูรณ์ (Fully Digital) ตั้งแต่การยื่นคำขอ การชำระค่าธรรมเนียม และการออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งใบอนุญาตเดิมที่ให้บริการผ่านระบบ Biz Portal แล้ว และงานบริการใหม่ ซึ่งในปัจจุบันระบบ Biz Portal ให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต หรือเอกสารต่าง ๆ รวม 94 ใบอนุญาต ใน 25 ประเภทธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร และให้บริการ 18 ใบอนุญาต ใน 10 ประเภทธุรกิจ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมการให้บริการขออนุญาตรายใหม่ ต่ออายุ แก้ไข/เปลี่ยนแปลง และยกเลิก พร้อมทั้งยกระดับการให้บริการ 36 ใบอนุญาตให้เป็นดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ (Fully Digital) แล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 ที่ผ่านมา

คำนิยาม
ผู้ประกอบการ หมายถึง ประชาชน หรือนิติบุคคล ที่จำเป็นต้องมีหนังสือรับรอง ใบอนุญาต หรือจำเป็นต้องได้รับบริการจากรัฐ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
บริการ (Service) หมายถึง กระบวนการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ หรือการดำเนินการอื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การรับคำขอ (Request) จากผู้ประกอบการ การตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ การพิจารณาอนุมัติอนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ การออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการ
หน่วยงานผู้ให้บริการ (Service Producer) หมายถึง หน่วยงานที่ผู้รับผิดชอบกระบวนการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ หรือการดำเนินการอื่น ๆ ให้กับผู้ประกอบการ
ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ
ผู้ประกอบการ

สามารถได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐได้โดยสะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านช่องทางดิจิทัล
สามารถติดตาม และได้รับแจ้งเตือนความคืบหน้าของการขอรับบริการ
หน่วยงานผู้ให้บริการ

เพิ่มช่องทางในการบริการผู้ประกอบการผ่านระบบดิจิทัล อันเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการ
หน่วยงานที่ยังไม่มีระบบสนับสนุนการให้บริการ สามารถใช้ระบบ Biz Portal ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ในการให้ผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาต เป็นต้น

ลักษณะเชิงเทคนิค (System Flow)
การให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ขอรับบริการ ผ่านระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) เกี่ยวข้องกับระบบย่อยต่าง ๆ (Micro Services) ที่ให้บริการโดย สพร. ดังนี้

ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนประชาชน/ผู้ประกอบการ (Identity Proofing and Authentication)
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) รองรับการขอหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการ รวมถึงรองรับการติดตามความคืบหน้าในการขอรับบริการ
ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Service Backend) รองรับการดำเนินงานของหน่วยงานผู้ให้บริการ หลังจากที่ผู้ขอรับบริการยื่นคำขอรับบริการมาแล้ว ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ การพิจารณาอนุมัติอนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ การออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ขอรับบริการ
ระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange : GDX) รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต โดยหน่วยงานผู้ให้บริการ เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎรจากกรมการปกครอง ข้อมูลทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

ในการให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ขอรับบริการ ระบบย่อยต่าง ๆ จะมีการทำงานร่วมกัน ตามแผนภาพการไหลของข้อมูล (System Flow) ข้างบน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ประกอบการทำการยืนยันตัวตน (Login) กับ ระบบ Digital ID โดยหากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการจะต้องสมัครขอบัญชีผู้ใช้งานก่อน
กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สามารถระบุข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing) ซึ่งครอบคลุมถึง ข้อมูลชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด รหัสเลเซอร์โค้ดหลังบัตรประชาชน
กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล สามารถสมัครขอรับบัญชีผู้ใช้งานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้
เมื่อผู้ประกอบทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ระบบ Digital ID จะนำประชาชน/ผู้ประกอบการไปยังหน้าจอของ ระบบ Biz Portal พร้อมส่งข้อมูลของผู้ประกอบการ (User Profile) ไปยังระบบ Biz Portal
ผู้ประกอบการใช้ ระบบ Biz Portal เลือกใบอนุญาต/บริการที่ตนต้องการ ทำการกรอกข้อมูลตามแบบคำขอใบอนุญาต/บริการที่ตนเลือก รวมถึงแนบเอกสาร/หลักฐานประกอบตามที่หน่วยงานร้องขอ และยืนยันการยื่นคำขอ
ระบบ Biz Portal ทำการส่งข้อมูลตามแบบคำขอใบอนุญาต/บริการไปยัง ระบบService Backend เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทราบ และดำเนินการตามขั้นตอนในให้บริการต่อไป
ระบบ Service Backend ทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ Government Data Exchangeเช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร (จากกรมการปกครอง) ข้อมูลนิติบุคคล (จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบ Service Backend เพื่อพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต ซึ่งครอบคลุมขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบ
เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดคำขอ/เอกสารประกอบ
บันทึกผลการพิจารณาความครบถ้วน/ถูกต้องของข้อมูลและเอกสาร
แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติอนุญาต
เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดคำขอ/เอกสารประกอบ และอาจรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต (เช่น คณะกรรมการ)
บันทึกผลการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต
แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ขั้นตอนการรับชำระค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
เจ้าหน้าที่บันทึกค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบการต้องชำระ
แจ้งค่าธรรมเนียมให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียมตามช่องทางที่หน่วยงานกำหนด
ผู้ประกอบการแจ้งผลการชำระค่าธรรมเนียม พร้อมแนบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และยืนยันการชำระค่าธรรมเนียม
ขั้นตอนการออกและส่งหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต/เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ขอรับบริการ
เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือรับรอง/ใบอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) และเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
ผู้มีอำนาจพิจารณาความครบถ้วน ถูกต้องของหนังสือรับรอง/ใบอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์ และทำการลงลายมือชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)
แจ้งผลการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการทราบ (ผ่านระบบ Biz Portal)
ทั้งนี้ ขั้นตอนย่อยในข้อ 6 อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง/ใบอนุญาต หรือการให้บริการของหน่วยงาน เช่น บางบริการอาจไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นต้น

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานผู้ให้บริการ

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 4 “เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและ เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล โดยมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพและ อำนวยความสะดวกในการให้บริการและการเข้าถึงของประชาชน และในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อ สาธารณะและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 10 (5) “สนับสนุนการเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน”
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562 มาตรา 8 (5) “พัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย”
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา ๑๐ “ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ”
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) ติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์ที่ให้บริการ และบริหารจัดการ โดย สพร. ระบบคลาวด์ภาครัฐดังกล่าวมีระดับเสถียรภาพ (SLA) ไม่น้อยกว่า 99.5% และเป็นระบบที่มีมาตรการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลอย่างรัดกุม มีความปลอดภัยสูง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013 ระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management Systems – ISMS)

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน และระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

นอกจากนี้ ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ ดังนี้

การพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ ของ สพร. ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 9001
ก่อนที่จะเปิดแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริการจริง แอปพลิเคชันระบบ และแพลตฟอร์มดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบ ทั้งในด้านคุณสมบัติ (Functional Test) และด้านอื่นๆ (Non-Functional Test) เช่น Performance Test และ Security Test โดยผลการทดสอบต้องแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้โดยสมบูรณ์ มีระดับความมั่นคงสูง (Highly Available) มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่ำ
สพร. ทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม (Security Test) โดยใช้อย่างน้อย 2 วิธี ดังนี้

วิธี Static Application Security Testing (SAST) ซึ่งเป็นการตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มที่เขียนขึ้น ว่าเป็นการเขียนโปรแกรมที่มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี หรือถูกเจาะโดยผู้ไม่หวังดีมากน้อยเพียงใด
วิธี Vulnerability Assessment (VA) ซึ่งเป็นการตรวจสอบแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่ติดตั้งแล้วในภาพรวม ว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีเนื่องจากการตั้งค่า (Settings) ต่างๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่
การติดต่อขอใช้บริการ
ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) สามารถเข้าใช้บริการได้ทันทีที่เว็บไซต์ https://bizportal.go.th
หน่วยงานภาครัฐที่สนใจใช้บริการ ติดต่อได้ที่ DGA Contact Center โทร 02-612-6060 หรืออีเมล์ contact@dga.or.th

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ


ผู้เยี่ยมชม: 75
บริการด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf