ข้อมูลบริการด้านนวัตกรรม-
• รายละเอียดของบริการ
หลักการและเหตุผล
ด้วยนโยบายคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมานั้นนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศข้อ 6.18 แถลงไว้ว่า ต้องการให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกหลักที่ปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนจนกลายเป็นระบบดิจิทัล ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับและปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การจ้างงานที่ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางสังคม ของปัจเจกชน องค์กร และชุมชน การให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนถึง การเรียนรู้ เข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล จึงได้ดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ Smart City จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมุ่งหวังให้ประชาชน นักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตได้ใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. ให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ สร้างธุรกิจ และเพิ่มรายได้ในชุมชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนผ่านบริการดิจิทัลต่าง ๆ ทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชนทุกคน และการเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2. ให้ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวสามารถใช้ประโยชน์จากบริกการอินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงช่วยสร้างบรรยากาศ และเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตต่อไป

3. ให้จังหวัดภูเก็ตมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น พร้อมที่จะรองรับการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) และนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็น Smart City ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

3.1 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi) จำนวนไม่น้อยกว่า100 สถานที่ และมีจุดให้บริการรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000จุดบริการ อัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงเป็นโครงข่ายหลัก ลากไปยังพื้นที่เป้าหมาย และกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายไร้สาย Wi-Fi

3.2 ให้บริการอุปกรณ์ Digital Signage พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด

3.3 ให้บริการอุปกรณ์ Beacon พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุด

3.4 ให้บริการระบบ Smart City Platformประกอบด้วย

3.4.1 ระบบ Smart City MobileApplicationสำหรับเป็นเครื่องมือเป็นเครื่องมือให้ประชาชนผู้ นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางตรง ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และได้รับข้อมูลการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่จำเพาะเจาะจงในพื้นที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในพื้นที่หรือจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย

3.4.2 ระบบจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการ (Big Data) พร้อมให้บริการข้อมูลในลักษณะ Open Data ได้

3.4.3 ระบบรายงานเพื่อการบริหารจัดการข้อมูล (Reporting Tool)สำหรับนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการ Smart City ได้

ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Smart Phuket 4.0
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.cattelecom.phuketsmartcity
https://itunes.apple.com/th/app/smart-phuket-4-0/id1274352407?l=th&mt=8

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi)สำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติ ณ พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวนไม่น้อยกว่า 100สถานที่และมีจุดให้บริการทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000 จุด ให้บริการอัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดภูเก็ตด้วย

2. เพื่อให้มีช่องทางในการช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐและการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตผ่านทางอุปกรณ์ Digital Signageพร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด

3. เพื่อให้มีช่องทางการบริการข้อมูลแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต สำหรับรองรับการดำเนินการพัฒนาSmart Cityดังนี้

3.1 จัดให้มีอุปกรณ์ Beacon จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุดพร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง

3.2 จัดให้มีระบบ Smart City Platform จำนวน 1 ระบบ
• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• Keyword :
Smart City, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, สาธารณะ
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ Smart City

หลักการและเหตุผล
ด้วยนโยบายคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมานั้นนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศข้อ 6.18 แถลงไว้ว่า ต้องการให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกหลักที่ปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนจนกลายเป็นระบบดิจิทัล ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับและปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การจ้างงานที่ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางสังคม ของปัจเจกชน องค์กร และชุมชน การให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนถึง การเรียนรู้ เข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล จึงได้ดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ Smart City จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมุ่งหวังให้ประชาชน นักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตได้ใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. ให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ สร้างธุรกิจ และเพิ่มรายได้ในชุมชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนผ่านบริการดิจิทัลต่าง ๆ ทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชนทุกคน และการเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2. ให้ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวสามารถใช้ประโยชน์จากบริกการอินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงช่วยสร้างบรรยากาศ และเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตต่อไป

3. ให้จังหวัดภูเก็ตมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น พร้อมที่จะรองรับการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) และนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็น Smart City ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

3.1 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi) จำนวนไม่น้อยกว่า100 สถานที่ และมีจุดให้บริการรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000จุดบริการ อัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงเป็นโครงข่ายหลัก ลากไปยังพื้นที่เป้าหมาย และกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายไร้สาย Wi-Fi

3.2 ให้บริการอุปกรณ์ Digital Signage พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด

3.3 ให้บริการอุปกรณ์ Beacon พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุด

3.4 ให้บริการระบบ Smart City Platformประกอบด้วย

3.4.1 ระบบ Smart City MobileApplicationสำหรับเป็นเครื่องมือเป็นเครื่องมือให้ประชาชนผู้ นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางตรง ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และได้รับข้อมูลการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่จำเพาะเจาะจงในพื้นที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในพื้นที่หรือจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย

3.4.2 ระบบจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการ (Big Data) พร้อมให้บริการข้อมูลในลักษณะ Open Data ได้

3.4.3 ระบบรายงานเพื่อการบริหารจัดการข้อมูล (Reporting Tool)สำหรับนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการ Smart City ได้

ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Smart Phuket 4.0
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.cattelecom.phuketsmartcity
https://itunes.apple.com/th/app/smart-phuket-4-0/id1274352407?l=th&mt=8

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi)สำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติ ณ พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวนไม่น้อยกว่า 100สถานที่และมีจุดให้บริการทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000 จุด ให้บริการอัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดภูเก็ตด้วย

2. เพื่อให้มีช่องทางในการช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐและการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตผ่านทางอุปกรณ์ Digital Signageพร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด

3. เพื่อให้มีช่องทางการบริการข้อมูลแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต สำหรับรองรับการดำเนินการพัฒนาSmart Cityดังนี้

3.1 จัดให้มีอุปกรณ์ Beacon จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุดพร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง

3.2 จัดให้มีระบบ Smart City Platform จำนวน 1 ระบบ

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ


ผู้เยี่ยมชม: 533
บริการด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf