ข้อมูลองค์ความรู้-
• รายละเอียดขององค์ความรู้
บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์
วิดีโอสัมภาษณ์ | ศศิวิภา หาสุข, วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์, อิสริยาพร วรทิศ
ชมคลิปสัมภาษณ์ | กปภ.เชียงใหม่ พลิกโฉมการประปาด้วย IoT บริหารจัดการน้ำ 4.0

ปัญหาที่เกิดกับการบริหารจัดการน้ำแม้เพียงเล็กน้อยแต่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ ปัญหาเบสิคอย่าง น้ำไม่ไหล หรือ ไหลอ่อน แม้ในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ส่งผลต่อความรู้สึกและเป็นอุปสรรคต่อชีวิตประจำวันแล้ว ยังไม่รวมผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ ที่มีเรื่องของการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำประปาอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและธุรกิจหลายด้าน ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงใหม่ (ชั้นพิเศษ) ที่ได้นำเทคโนโลยี Smart IoT & Sensor เข้ามาเป็นหนึ่งกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถและการก้าวข้ามอุปสรรคด้านการจัดการน้ำประปาในราคาประหยัด

เมื่อเสียงร้องเรียนของประชาชน คือ สัญญาณเตือนที่ล่าช้าเกินไป

ยังจำได้หรือไม่ … เราเปิดใจใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยเหตุผลอะไร ? คำตอบไม่หลากหลายมากนัก คือ เทคโนโลยีต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือ อำนวยความสะดวกด้านใดด้านหนึ่งให้กับมนุษย์ เช่นเดียวกันกับการประปาส่วนภูมิภาค (ชั้นพิเศษ) สาขาเชียงใหม่ที่มี “ปัญหา” เป็นจุดเริ่มต้นของการขยับตัวเข้าใกล้ “เทคโนโลยี 4.0”

“น้ำประปาหยุดบ่อย” “น้ำประปาไหลอ่อน”
เสียงร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งในอดีตน้ำประปาไม่ไหล หรือ ไหลอ่อนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากระบบผลิตน้ำ ณ หน่วยบริการ อ.แม่วาง ขัดข้อง หรือ หยุดชะงัก จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้ากระพริบ

ด้วยหน่วยบริการ อ.แม่วาง เป็นสถานีผลิตน้ำขนาดเล็ก อยู่ห่างไกลจากสำนักงานใหญ่ ประมาณ 60 กิโลเมตร ทำให้เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานใหญ่ ไม่ทราบสถานะของเครื่องจักรกล การเข้ามาตรวจสอบสถานะดังกล่าว จะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนร้องเรียนเข้ามา

คุณปฏิญญา เพ็ชรมาก ผู้จัดการกปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) เล่าว่า
หน่วยบริการ อ.แม่วาง มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 1 ท่าน เมื่อมีปัญหาการสูบน้ำเกิดขึ้น เช่น น้ำดิบไม่ถูกสูบขึ้นมาบนโรงกรองน้ำ ปั้มสูบน้ำดิบขัดข้อง เจ้าหน้าที่จะสังเกตจากระดับน้ำที่เข้าสู่กระบวนการผลิตมีระดับต่ำลง และจะต้องเดินทางโดยรถจักรยานยนต์จากหน่วยบริการแม่วางไปยังสถานีสูบน้ำ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ตรวจสอบ และซ่อมบำรุง ซึ่งบางครั้งอาจล่าช้า ไม่ทันการณ์ และมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการเดินทางเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หรือ การเดินทางในช่วงกลางคืน

นอกจากนี้ การรับรู้สถานะของเครื่องจักรกลที่ล่าช้า ยังส่งผลให้คุณภาพน้ำไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กปภ.กำหนด ด้วยสถานีผลิตน้ำ ณ หน่วยบริการ อ.แม่วาง จะใช้น้ำดิบจากแม่น้ำแม่วาง ซึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีปัญหาเรื่องค่าความขุ่นสูง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบค่าความขุ่นอยู่ตลอดเวลา และเติมสารเคมีที่เหมาะสมกับค่าความขุ่นของน้ำดิบอย่างทันท่วงทีเพื่อให้การผลิตน้ำมีคุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นภาระงานที่หนักและใช้เวลามาก

เรื่องราวในอดีต ณ หน่วยบริการ อ.แม่วาง กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) สะท้อนให้เห็นว่า เสียงร้องเรียนของประชาชน หรือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นหน้างาน เป็นสัญญาณเตือนการแก้ปัญหาที่ล่าช้าเกินไป แม้จะแก้ปัญหาได้ภายหลัง แต่ผลกระทบได้เกิดขึ้นกับประชาชนแล้ว ผนวกกับอุปสรรคเรื่องระยะทางของระบบต่าง ๆ ในการผลิตน้ำที่ห่างไกลกัน ยังเพิ่มช่วงเวลาของผลกระทบให้ยาวนานขึ้น รวมถึงการสูญเสียทรัพยากร และความความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่

ปัญหาเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการขยับตัวเข้าหาเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำประปาของ กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) โดยปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวมีให้เลือกหลากหลาย โจทย์สำคัญต่อมา คือ จะเลือกใช้เทคโนโลยีอะไรให้เหมาะสมกับปัญหาและบริบทขององค์กร

ผจญภัยในดินแดนเทคโนโลยี: ตามหาแพลตฟอร์มไอโอทีที่ดีและคุ้ม

การตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีย่อมมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถตอบโจทย์ความต้องการ หรือ แก้ปัญหา ความคุ้มค่าในการลงทุน ความยากง่ายในการดูแลรักษาและปรับปรุงระบบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการผลิตน้ำ ก่อนหน้านี้ได้มีการใช้งานระบบสกาด้า (SCADA) เพื่อเข้ามาตรวจวัดสถานะการนำงานของระบบผลิตน้ำทั้งหมดและแสดงผลบนแดชบอร์ด (Dashboard) ที่ต้องใช้งบประมาณสูงถึงสามแสนบาท

โดยคำตอบในการเลือกเทคโนโลยีที่ดีและคุ้มค่า ที่ กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) ตัดสินใจใช้งาน คือ “เน็ตพาย (NETPIE)” แพลตฟอร์มไอโอทีสัญชาติไทย
เน็ตพาย (NETPIE) หรือ แพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง (Network Platform for Internet of Everything) ทำหน้าที่เป็นคลาวน์แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาไอโอที เป็นชุดเครื่องมือให้ผู้ที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ไอโอที สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องไปตั้งเซิร์ฟเวอร์ หรือ ฐานข้อมูลเอง พัฒนาขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค

“เมื่อปี 2561 ทีมงานได้เข้าไปศึกษาและเลือกใช้ NETPIE ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐ และเป็น Open source สามารถที่จะใช้ได้ฟรี ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อดี คือ ทีมงานสามารถที่จะพัฒนาอุปกรณ์ได้หลาย ๆ อย่าง เมื่อติดขัด หรือเกิดปัญหาสามารถประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของเนคเทค เพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไข เขาก็ให้คำแนะนำดีมากและไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอะไร” คุณปฏิญญา กล่าว

โดยล่าสุดเน็ตพายได้เปิดตัวเวอร์ชันใหม่ NETPIE 2020 ที่จะมาทลายทุกข้อจำกัด ด้วยคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้น เพื่อลดภาระและตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้าน IoT โดยเฉพาะ ช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบ IoT ใด ๆ ก็ตามเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการดูแลรักษา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ และยังคงเปิดให้ใช้บริการฟรีมาอย่างต่อเนื่องสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักพัฒนา และอุตสาหกรรม SME ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.

กปภ.เชียงใหม่ x NETPIE :นวัตกรรมปิดจ๊อบปัญหาก่อนประชาชนร้องเรียน !

แม้เรื่องของงบประมาณจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้งานเทคโนโลยี แต่ประเด็นของคุณภาพนั้นต้องยกให้เป็นปัจจัยอันดับหนึ่ง แม้ราคาคุ้มทุน แต่คุณภาพไม่คุ้มค่า ก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้น เมื่อ NETPIE แพลตฟอร์มไอโอทีสัญชาติไทย ได้ใจ กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) ในเรื่องของงบประมาณและการบริการแล้วนั้น

ในเรื่องของคุณภาพ กปภ.เชียงใหม่ (พ.) ได้พิสูจน์โดยประยุกต์ใช้ NETPIE สร้าง 2 นวัตกรรมที่มาช่วยปลดล็อกอุปสรรคทั้งด้านการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาและการบริการอย่างอยู่หมัด ได้แก่ ผลงานตรวจวัด/ควบคุมแจ้งเตือนผลิตน้าอัจฉริยะด้วยระบบ Smart IoT and Sensors และ นวัตกรรมบัตรคิวออนไลน์ Eazy Queue

● ระบบ Smart IoT and Sensors: ตรวจวัดและควบคุมแจ้งเตือนผลิตน้ำอัจฉริยะ

ระบบ Smart IoT and Sensors: ตรวจวัดและควบคุมแจ้งเตือนผลิตน้ำอัจฉริยะ ที่ได้นำ NETPIE แพลตฟอร์มไอโอทีสัญชาติไทย มาประยุกต์ใช้เพื่อตรวจวัดและดึงสถานะการทำงานของเครื่องจักรกลระบบผลิตน้ำแสดงบนแดชบอร์ด (Dashboard) พร้อมควบคุมกระบวนการผลิตน้ำอัตโนมัติ และแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินเมื่อระบบผลิตน้ำขัดข้องผ่าน Line

คุณธีระพงษ์ ละออ วิศวกรงานผลิต กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) เล่าว่า
เป้าหมายของเรา คือ การลดข้อร้องเรียนในเรื่องของน้ำไหลอ่อนหรือน้ำไม่ไหลในพื้นที่นี้ เดิมสถานีผลิตน้ำหน่วยบริการแม่วางใช้ระบบวิทยุสื่อสารและสายสัญญาณซึ่งจะมีปัญหา คือ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่อยู่ห่างออกไปราว ๆ 60 กิโลเมตร จะไม่ทราบสถานะเครื่องจักรกลในระบบผลิตที่นี่ จึงมีความยากในการบริหารจัดการให้ค้าแนะนำปรึกษา การซ่อมบำรุงเบื้องต้นให้กับทางผู้ปฏิบัติที่อยู่ในสถานีผลิต เจ้าหน้าที่จึงต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่หน้างานซึ่งอาจเกิดความล่าช้าและไม่ทันท่วงที

กปภ.เชียงใหม่ (พ.) จึงได้ออกแบบและติดตั้ง “ตู้โมดูลไอโอที” ที่เชื่อมต่อสัญญาณจากตู้ควบคุมเครื่องจักรกลระบบผลิตน้ำและจำหน่ายน้ำ ได้ทันที โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม โดยมีเน็ตพาย (NETPIE) แพลตฟอร์มไอโอทีทำหน้าที่ดึงสัญญาณสถานะเครื่องจักรกลจากตู้โมดูลไอโอทีไปแสดงบนแดชบอร์ด (Dashboard) บนสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์ โดยตู้โมดูลไอโอทีดังกล่าว รวมถึงเซนเซอร์ตรวจวัดต่าง ๆ จะถูกติดตั้งอยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตน้ำทั้งหมด

ความสามารถของระบบ Smart IoT and Sensors: ตรวจวัดและควบคุมแจ้งเตือนผลิตน้ำอัจฉริยะ

● ตรวจวัดสถานะการทำงานของเครื่องจักรกลระบบผลิตน้ำและแสดงผ่าน Dashboard บนสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์
● ตรวจวัดและแสดงข้อมูลการผลิตน้ำจากเซนเซอร์แบบ Real-time ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่ต้องตรวจวัดด้วยตนเอง เช่น การตรวจวัดค่าความขุ่นของน้ำดิบ ด้วยเครื่องมือภาคสนามวันละ 3 เวลา เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำขุ่นฉับพลันจากฝนตก หรือ น้ำป่าไหลหลาก หรือ การตรวจวัดคุณภาพน้ำประปาตามรอบเวลา 3 รอบ/วัน เป็นต้น
● ควบคุมกระบวนการผลิตน้ำที่มีคุณภาพเหมาะที่เหมาะสม เช่น การตรวจวัดและควบคุมปรับจ่ายคลอรีนให้อยู่ในช่วงค่าความคุมมาตรฐานน้ำประปา
● สามารถทำการผลิตน้ำได้อย่างอัตโนมัติ เช่น สามารถหยุดระบบผลิตน้ำได้เองเมื่อถังน้ำใสเต็มเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสั่งการระยะไกลจากโรงกรองน้ำไปยังโรงสูบน้าดิบเพื่อสูบน้าดิบขึ้นมากรองแบบอัตโนมัติเมื่อปริมาณน้ำในถังน้ำใสพร่อง ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่ต้องเดินทางไป-มา ระหว่างโรงสูบน้ำดิบ-โรงกรองน้ำ เพื่อเดินระบบผลิตน้ำ
● ฟังก์ชันแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน เมื่อระบบผลิตน้ำขัดข้องผ่านทาง Line ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วง เช่น เหตุไฟฟ้าดับ เครื่องสูบน้ำทำงานผิดปกติ ค่าความขุ่นน้ำดิบสูงผิดปกติ เป็นต้น

การมีนวัตกรรมที่สามารถตรวจวัด แสดงผลข้อมูล และควบคุมระบบการผลิตน้ำแบบ Real-time ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบสถานะได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดภาระและเวลาของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบแบบ manual รวมถึงการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินผ่าน Line ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขสถานการณ์และคืนสภาพระบบผลิตน้ำได้อย่างทันท่วงที การผลิตน้ำไม่หยุดชะงัก และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้ำ

“หลังจากที่เราได้มีการนำมา NETPIE มาประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรม สามารถลดข้อร้องเรียนในการแจ้งน้ำไหลอ่อนหรือน้ำไม่ไหลได้ เนื่องจากเรามีการผลิตงานที่ต่อเนื่องมากกว่าเดิม” คุณธีระพงษ์ กล่าว

● ระบบ Eazy Queue: การประยุกต์ใช้ระบบ IoT กับระบบเรียกบัตรคิวออนไลน์และ SLA Time

Eazy Queue (อีซี่คิว) เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเรียกคิวที่เคยยุ่งยาก ให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม โดย กปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) ได้รับเสียงร้องเรียนจากผู้ใช้บริการถึงระบบเรียกคิวที่มีปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการหนาแน่น และ รอนาน กระทบโดยตรงต่อเวลาการให้บริการการชำระเงินค่าน้ำประปาใช้เวลาเกินมาตรฐานที่กำหนด (SLA Time) คือ มากกว่า 3 นาที/คน

“โดยระบบเรียกคิวแบบเดิมใช้ระบบสาย USB เป็นการเดินสายสัญญาณจากจุดเรียกบัตรคิวแต่ละเคาเตอร์ ตามมาตรฐานต้องมีระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร หากเกินระยะดังกล่าวจะมีปัญหาสัญญาณขาดหาย เรียกคิวได้ไม่สม่ำเสมอ ต้องใช้ตัวขยายสัญญาณซึ่งมีค่าใช้จ่าย และต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภูมิทัศน์ในการจัดโต๊ะเคาเตอร์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องจากกปภ.สาขาเชียงใหม่(พ.) เป็นสำนักงานการประปาขนาดใหญ่ มีจำนวนเคาเตอร์ให้บริการจำนวนมาก และตั้งอยู่ระยะห่างกัน จึงมีการนำ NETPIE เข้ามาพัฒนาระบบเรียกคิวแบบไร้สายขึ้น” คุณธีระพงษ์ กล่าว

โดยระบบ Eazy Queue การเรียกคิวแบบไร้สายที่พัฒนาขึ้นนี้ เจ้าหน้าสามารถใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์ทุกตัวที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถขยายเคาท์เตอร์ให้บริการได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องระบบสายอีกต่อไป พร้อมทั้งมีระบบการรักษาความปลอดภัยจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ด้วยการ Login ชื่อและรหัสผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหน้าเคาเตอร์ให้บริการชำระเงินเท่านั้น

นอกจากนี้ยังได้มีกปภ.สาขาเชียงใหม่(พ) ยังมีการนำเซนเซอร์ระบบตรวจจับนับเวลาในการให้บริการต่อคิว หรือ SLA Time เพื่อบันทึกเวลาการให้บริการต่อคิว โดยระบบจะเริ่มนับถอยหลัง 180 วินาทีโดยอัตโนมัติเมื่อมีผู้ใช้บริการหน้าเคาท์เตอร์ โดยสามารถบันทึกและตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ เพื่อนำข้อมูลไว้ใช้ปรับปรุงการใช้บริการ หรือ รายงานผลการปฏิบัติงานได้

“ระบบ Easy Queue ทำให้เรามองเห็นภาพรวมว่า ณ เวลานั้นมีลูกค้ามารอที่จะใช้บริการจำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่จะให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีรายงานสรุปเวลาการใช้บริการในทุก ๆ วัน หากมีรายใดที่ใช้เวลาให้บริการเกิน 180 วินาที ก็ต้องมาวิเคราะห์สาเหตุ และพัฒนาข้อบกพร่องต่อไป” คุณวริญรดา แสงกันทะ นักบัญชี 4 งานจัดเก็บรายได้ 1 การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงใหม่ กล่าว

พร้อมขยายผลนวัตกรรมคุ้มทุนและคุ้มค่า สู่กปภ.ทั่วประเทศ

กปภ.เชียงใหม่ (พ.) เป็นตัวอย่างของการนำปัญหาของประชาชน และ งบประมาณที่จำกัดมาเป็นโจทย์ในการเลือกใช้งานเทคโนโลยี 4.0 ที่คุ้มทุน และคุ้มค่า สามารถสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของประชาชน เพิ่มศักยภาพให้กับระบบการผลิตน้ำและการใช้บริการ รวมถึงช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้ และแน่นอนว่า กปภ.เชียงใหม่ (พ.) พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ไปยังกปภ.ทั่วประเทศ

“เราไม่ได้ปิดกั้น ปัจจุบันมีหลายสาขาที่มานำนวัตกรรมของเราไปใช้ และอยากจะให้มีการขยายผลนวัตกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ประหยัดและสร้างความคุ้มค่าให้กับประเทศ ถ้าเราติดตั้งระบบสกาด้าที่หน่วยบริการแม่วาง จะใช้งบประมาณอยู่ที่ 3 แสนกว่าบาท แต่ทีมงานมีความสนใจใช้งานเน็ตพายซึ่งพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐ โดยจะใช้งบประมาณอยู่ที่ 3 หมื่นบาทเท่านั้น”
ซึ่งมันไม่รู้กี่เท่าที่สามารถที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงได้ ทำความคุ้มค่าให้กับประเทศ และไม่ได้ประหยัดอย่างเดียว มันสร้างความพึงพอใจให้ประชาชนได้ใช้น้ำอย่างต่อเนื่องเราทราบปัญหาก่อนที่ประชาชนจะโทรเข้ามาเสียอีก ต้องขอบคุณทางเนคเทค หากมีแพลตฟอร์มดี ๆ แบบนี้อยากจะให้ท่านได้กระจายให้กับประชาชน” คุณปฏิญญา เพ็ชรมาก ผู้จัดการกปภ. สาขาเชียงใหม่ (พ.) กล่าวทิ้งท้าย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตามหาเทคโนโลยีที่คุ้มทุนและคุ้มค่า
เพื่อยกระดับ ! อุตสาหกรรมของคุณให้ล้ำหน้าไปอีกขึ้น
ต้องไม่พลาด … งานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2564
รวมทุกโซลูชัน 4.0 ที่คุณตามหาไว้ที่งานนี้
แล้วพบกัน NECTEC-ACE2021
9 กันยายนนี้ !
เข้าสู่เว็บไซต์ NECTEC-ACE 2021
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
13 กรกฎาคม 2564
• Keyword :
กปภ.เชียงใหม่, IoT
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
กปภ.เชียงใหม่ พลิกโฉมการประปาด้วย IoT บริหารจัดการน้ำ 4.0

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ


วันที่เผยแพร่: 13 กรกฎาคม 2564
|
ผู้เยี่ยมชม: 443
องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf