ข้อมูลองค์ความรู้-
• รายละเอียดขององค์ความรู้
บทความ | ดร.กุสุมาภรณ์ สมพงษ์, น.ส.อภิญญา กมลสุข, น.ส.ฐิติมา สระมณี
ทีมงานวิเคราะห์ตลาดและเทคโนโลยี (MIIT)
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
___________________________________
Precision Farming หรือ เกษตรแม่นยำ คือ การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อการเกษตรยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล เซนเซอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งนาโนเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อันนำไปสู่การแข่งขันได้ในระดับสากล

เกษตรแม่นยำเป็นการทำเกษตรที่มีการให้น้ำ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงในปริมาณและเวลาที่ถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เป็นหลักการบริหารจัดการเพาะปลูกเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในระดับแปลงหรือโรงเรือน
หลักการสำคัญของเกษตรแม่นยำ คือ การจัดการที่แตกต่างกัน (Variable Rate Application, VRA) กล่าวคือ แม้จะปลูกพืชชนิดเดียวกัน แต่สภาพแวดล้อมในแปลงเดียวกันมักมีความไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ความสมบูรณ์ของต้นรวมถึงผลผลิตแตกต่างกัน

ดังนั้น การเก็บข้อมูลและการแปรผลจึงมีความสำคัญอย่างมากกับเกษตรกรเพื่อใช้ในวางแผนการจัดการพื้นที่ในแปลงปลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การทำงานของเกษตรแม่นยำมีด้วยกัน 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการและเทคโนโลยี 2) การวินิจฉัยข้อมูลเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้าสู่ฐานข้อมูล 3) การวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทำนายผลผลิตเชิงพื้นที่รวมไปถึงการวางแผนจัดการเพาะปลูก 4) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพาะปลูกที่วางไว้ 5) การประเมินประสิทธิภาพ หรือความคุ้มค่าแก่การลงทุน


ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของการเกษตรแม่นยำ
ตลาดเกษตรแม่นยำ มีองค์ประกอบหลักตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

เครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการในด้านต่าง ๆ
เทคโนโลยี เช่น ระบบระบุตำแหน่งแบบแม่นยำสูง การตรวจวัดระยะไกล และ Variable Rate Technology, VRT เป็นต้น
แอปพลิเคชัน เช่น การตรวจวัดสภาพอากาศ การวัดผลผลิต การตรวจวัดในพื้นที่เพาะปลูก และการจัดการของเสีย เป็นต้น
โดยรวมพบว่าเกษตรกรเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมาใช้ในการเพาะปลูกและสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์ และการบริหารจัดการทั่ว ๆ ไปที่ได้ผลผลิตประมาณ 2 เท่า

ภาพ: ภาพรวมตลาดของเกษตรแม่นยำ
ที่มา: Global Market Insights, 2561 modified by MIIT
การใช้งานเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ
ภูมิภาคอเมริกามีการใช้งานเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมากถึงร้อยละ 60 ภูมิภาคยุโรปมีการใช้งานร้อยละ 30 ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ มีการใช้งานค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเพียงโครงการวิจัยของภาครัฐ หรือ การใช้งานผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายเท่านั้น

การใช้งานเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำถูกนำไปใช้งานที่หลากหลาย เช่น การเฝ้าระวังผลผลิตทางการเกษตรซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นแบบเรียลไทม์จึงมีประโยชน์ต่อเกษตรกรในการวางแผนการผลิตและบริหารจัดการเพาะปลูก นอกจากนี้การติดตามและการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ของการใช้งานทั้งหมด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเป็นตัวแปรสำคัญจึงมีการนำเทคโนโลยี Machine Learning และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาใช้เพื่อทำให้การติดตามและการพยากรณ์มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

แนวโน้มตลาดเกษตรแม่นยำ
จากการใช้งานข้างต้นมีการคาดการณ์แนวโน้มตลาดเกษตรแม่นยำ โดยพบว่าจะมีการเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 14.2 ในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ โดยในปีพ.ศ. 2562 จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 173,000 ล้านบาท และปีพ.ศ. 2566 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 295,000 ล้านบาท โดยการเติบโตหลักจะอยู่ในแถบภูมิภาคอเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากร ความต้องการอาหาร และพื้นที่การเพาะปลูก เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชน และมีแนวโน้มการลงทุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบว่ามีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจด้าน E-commerce และเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเข้มข้น (ดังภาพที่ 3) จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญในการนำเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมาใช้ในภาคการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าแก่การลงทุน

ภาพ: มูลค่าการลงทุนด้วยเทคโนโลยีในภาคการเกษตร
ที่มา: Stanford Value Chain Innovation Initiative, 2560 | modified by MIIT
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของตลาดการเกษตรในปัจจุบัน จะเห็นว่าเกษตรกรกำลังปรับตัวและหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อก้าวสู่การทำเกษตรแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการเทคโนโลยี Internet of Things เข้าด้วยกันเพื่อช่วยติดตามได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจเกษตร เช่น การบริหารจัดการน้ำ การปลูกพืช การเก็บเกี่ยว เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลในการกำกับดูแลการเพาะปลูก การคาดการณ์ปริมาณผลผลิต การพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการด้วยประสิทธิภาพสูงสุด

อุปสรรคและความท้าทายของเกษตรแม่นยำ
ข้อจำกัดของการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวยังเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ค่อนข้างสูง การขาดองค์ความรู้ และการยอมรับในเทคโนโลยีของเกษตรกร ดังนั้นความท้าทายเหล่านี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรดั้งเดิมมาเป็นเกษตรแม่นยำ และสามารถสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมาก โดยเฉพาะการรวบรวมข้อมูลในแบบเรียลไทม์ ซึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่จะถูกนำมาใช้ในการทำเกษตรแม่นยำในอนาคต จะประกอบด้วยเทคโนโลยีหลัก ๆ 4 ด้าน โดยแบ่งตามระยะเวลาของการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ดังภาพ

ภาพ: ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจเกษตร | ที่มา: Frost & Sullivan, 2562 and Stanford Value Chain Innovation Initiative 2560 | modified by MIIT
Precision Farming X NECTEC Thailand
จากแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ สวทช. และเนคเทค ได้มีการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของเกษตรกร อาทิ

What2Grow

https://youtu.be/QFA6Mg3GiqQ

เป็นระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลการผลิต ผลผลิต สภาพพื้นดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านราคา แหล่งรับซื้อ และเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างโมเดลแนะนำพืชทดแทนให้เกษตรกร

What2Grow ทำอะไรได้บ้าง ?
สามารถวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแบบจำลองในการโซนนิ่งภาคการเกษตรที่เหมาะสม
สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและบริหารผลผลิตได้ดีขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น

Agri-Map Mobile
เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ โดยสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลเชิงสารสนเทศด้านการเกษตรเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ด้านการเกษตรทั้ง 76 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร

https://youtu.be/gfRUhdCtkno

Agri-Map Mobile ทำอะไรได้บ้าง
ใช้งานง่าย เพียงระบุพิกัดจะสามารถเข้าถึงข้อมูลหลักด้านการเกษตรในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และตำบล
แสดงรายละเอียดชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่ แบ่งตามชั้นสีพร้อมคำอธิบายได้ตามที่ผู้ใช้กำหนด
มีข้อมูลทางเลือกการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน พร้อมรายละเอียดที่สำคัญ
เนคเทค-สวทช. ได้สร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นหนึ่งในการผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีภาคการเกษตร
เพื่อก้าวสู่เกษตรแม่นยำอย่างเต็มรูปแบบในยุคดิจิทัล

บรรณานุกรม
(1) ศูนย์ข้อมูลและคาดการณ์เทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
(2) Stanford Value Chain Innovation Initiative. Technology in Agribusiness Opportunities to Drive Value.
(3) Frost & Sullivan. Top 50 Emerging Technologies & Growth Opportunities.
(4) https://www.gminsights.com/industry-analysis/precision-farming-market/
(5) https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/precision-farming-market/
____________________________
หมายเหตุ:
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามข้อคิดเห็นที่ปรากฏเป็นความคิดเห็นของทีมงาน MIIT ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณใดๆตามความเหมาะสมกับสถานการณ์โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง
-เนคเทคจับมือกระทรวงเกษตรฯ พัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ
-ติดปีกให้เกษตรกรไทยยุค Thailand 4.0
-FAARMis : ระบบขึ้นทะเบียนเกษตรกรอิเล็กทรอนิกส์
-What2Grow : ระบบบูรณาการข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก
-Agri-Map Mobile
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
03 กุมภาพันธ์ 2564
• Keyword :
Precision Farming, เกษตรแม่นยำ, เกษตรยุคดิจิทัล, What2Grow, Agri-Map, เกษตรอัจฉริยะ, Smart Farm, MII
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
Precision Farming เทคโนโลยีผสมผสานการเกษตรยุคดิจิทัล

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ


วันที่เผยแพร่: 03 กุมภาพันธ์ 2564
|
ผู้เยี่ยมชม: 2295
องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf