ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-
• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม
ปัญหาหนึ่งของระบบการศึกษาไทย คือ การใช้หลักสูตรแกนกลางแบบเดียวกันในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กทั้งประเทศ ขณะที่เด็กมีทักษะพื้นฐานและความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน จึงเกิดปัญหาเด็กเรียนไม่ทันกันในชั้นเรียน และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจุดอ่อนของตนเองอยู่ตรงไหน สุดท้ายเด็กอาจรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้และหลุดออกจากระบบการศึกษาในที่สุด
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนา Adaptive Education Platform แพลตฟอร์มให้บริการอีเลิร์นนิง (e-learning) ที่มีฟังก์ชันติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมช่วยแนะนำเนื้อหาที่ควรทบทวนและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ
ติดตามการเรียนรู้ ระบุจุดต้องแก้ไข
‘Adaptive Education Platform’ ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับผู้เรียนรายบุคคล
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เนคเทค สวทช.
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช. เล่าว่า adaptive education หรือการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ผ่านการปรับให้มีความจำเพาะกับผู้เรียนรายบุคคลกำลังเป็นเทรนด์การศึกษาในหลายประเทศชั้นนำ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันมีความก้าวหน้าจนเอื้อให้นักพัฒนาเทคโนโลยีออกแบบ adaptive education platform รูปแบบต่าง ๆ มาให้บริการติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านระบบอีเลิร์นนิงแบบรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์จุดที่อาจเป็นปัญหาในการเรียนรู้ และแนะนำเนื้อหาที่ควรทบทวนหรือควรศึกษาเพิ่มเติมตามหลักคิด adaptive education แบบอัตโนมัติได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโคชส่วนบุคคลให้แก่ผู้เรียนได้แล้ว ยังเป็นผู้ช่วยที่ทำให้ครูและอาจารย์ทำงานด้านการติดตามคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ระบบการศึกษาไทยเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพนี้ ทีมวิจัยได้นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ออกแบบ adaptive education platform เพื่อให้บริการแก่ครูและอาจารย์ในประเทศไทย โดยปัจจุบันภายใต้แพลตฟอร์มนี้มีเทคโนโลยีติดตามกระบวนการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิงที่พร้อมให้บริการแล้ว 3 เทคโนโลยี
“เทคโนโลยีแรกคือ BookRoll เทคโนโลยีติดตามการอ่านเอกสารสื่อการเรียนรู้ที่เป็นไฟล์ PDF เพื่อระบุว่าผู้เรียนใช้เวลาอ่านเนื้อหาส่วนไหนมากเป็นพิเศษ มีการขีดเน้นส่วนสำคัญและส่วนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจไว้ตรงจุดไหนบ้าง เทคโนโลยีที่สอง KidBright Simulator เทคโนโลยีติดตามการเรียนรู้ทักษะโค้ดดิง (coding) ผ่านการฝึกเขียนโค้ดในรูปแบบบล็อก (Blockly) โดยระบบจะติดตามความเร็วในการต่อบล็อกแต่ละส่วน จุดที่นำบล็อกออกแล้วต่อใหม่ รวมถึงช่วยนับจำนวนบล็อกที่ใช้ต่อทั้งหมด ซึ่งการติดตามทั้งหมดนี้จะช่วยประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจเรื่องการเขียนโค้ดของผู้เรียนได้ ส่วนเทคโนโลยีที่สามที่พร้อมให้บริการแล้วคือ Abdul for Education เทคโนโลยีติดตามการตอบคำถามในระบบแชตบอตเพื่อวัดความเข้าใจ ระบบจะติดตามว่าคำตอบที่ผู้เรียนเลือกหรือพิมพ์ตอบนั้นถูกต้องหรือแสดงถึงความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนหรือไม่ ด้วยเครื่องมือทั้งหมดนี้จะช่วยให้ทั้งผู้เรียน ผู้สอน รวมถึงผู้ออกแบบเนื้อหาทราบถึงปัญหาที่ผู้เรียนกำลังเผชิญได้ทันที และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ทีมวิจัยยังมีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีติดตามการเรียนรู้ผ่านคลิปวิดีโอเพิ่มเติมด้วย
“หากในอนาคตผู้ออกแบบเนื้อหาจัดทำโครงสร้างของเนื้อหาตลอดหลักสูตรอย่างละเอียดและนำโครงสร้างเหล่านั้นเข้าสู่แพลตฟอร์ม ก็จะเอื้อให้แพลตฟอร์มแนะนำให้ผู้เรียนทราบโดยอัตโนมัติว่าจากปัญหาที่ผู้เรียนกำลังเผชิญควรทบทวนหรือศึกษาเพิ่มเติมเรื่องใด เช่น ผู้เรียนกำลังฝึกทำโจทย์วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง error identification ซึ่งจากการตอบคำถามของผู้เรียนทำให้ระบบพบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่อง past tense และ past perfect tense อย่างมีนัยสำคัญ ระบบก็จะแนะนำเนื้อหาทั้ง 2 ส่วนนี้ให้ผู้เรียนใช้ทบทวนใหม่โดยอัตโนมัติ”
ติดตามง่าย เห็นภาพรวม
ดร.เสาวลักษณ์ เล่าว่า adaptive education platform ผ่านการออกแบบเพื่อช่วยลดเวลาการติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบรายบุคคล ดังนั้นระบบทั้งหมดจึงเป็นระบบอัตโนมัติ เมื่อครูหรืออาจารย์นำสื่อการเรียนรู้เข้าสู่แพลตฟอร์ม แล้วส่งลิงก์ของเนื้อหาให้ผู้เรียนทุกคนใช้เข้าสู่ระบบเพื่อเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ระบบจะติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลแบบอัตโนมัติ และสรุปผลการเรียนรู้ให้ทั้งผู้เรียนและผู้จัดการเรียนการสอนทราบทันทีในรูปแบบแดชบอร์ด (dashboard) วิเคราะห์และสรุปผล
“การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิงผ่าน adaptive education platform นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นการบ้าน และเป็นโจทย์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตัวเองนอกเวลาในชั้นเรียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สอน ซึ่งจุดเด่นของระบบอีเลิร์นนิงคือ ผู้เรียนใช้ศึกษาหรือทบทวนซ้ำด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา และยังเอื้อให้ผู้เรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพได้ด้วย”
ปัจจุบันทีมวิจัยเริ่มนำระบบ adaptive education platform ไปทดสอบให้บริการแก่อาจารย์และนักเรียนจำนวน 600 คน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราแล้ว โดยหลักสูตรที่ให้บริการขณะนี้มี 2 หลักสูตร คือ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและการฝึกทักษะโค้ดดิ้งโดยทั้งสองหลักสูตรได้รับการสนับสนุนจาก EEC
“นอกจากนี้ทีมวิจัยกำลังดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาของประเทศไทย เช่น สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนให้แก่ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษาไทย โดยทีมวิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านการขยายผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยมากที่สุด” ดร.เสาวลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีนี้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อีเมล ae@nectec.or.th
เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์
ภาพประกอบโดย ภัทรา สัปปินันทน์ และ Shutterstock
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนา Adaptive Education Platform แพลตฟอร์มให้บริการอีเลิร์นนิง (e-learning) ที่มีฟังก์ชันติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมช่วยแนะนำเนื้อหาที่ควรทบทวนและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ
ติดตามการเรียนรู้ ระบุจุดต้องแก้ไข
‘Adaptive Education Platform’ ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับผู้เรียนรายบุคคล
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เนคเทค สวทช.
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช. เล่าว่า adaptive education หรือการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ผ่านการปรับให้มีความจำเพาะกับผู้เรียนรายบุคคลกำลังเป็นเทรนด์การศึกษาในหลายประเทศชั้นนำ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันมีความก้าวหน้าจนเอื้อให้นักพัฒนาเทคโนโลยีออกแบบ adaptive education platform รูปแบบต่าง ๆ มาให้บริการติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านระบบอีเลิร์นนิงแบบรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์จุดที่อาจเป็นปัญหาในการเรียนรู้ และแนะนำเนื้อหาที่ควรทบทวนหรือควรศึกษาเพิ่มเติมตามหลักคิด adaptive education แบบอัตโนมัติได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโคชส่วนบุคคลให้แก่ผู้เรียนได้แล้ว ยังเป็นผู้ช่วยที่ทำให้ครูและอาจารย์ทำงานด้านการติดตามคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ระบบการศึกษาไทยเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพนี้ ทีมวิจัยได้นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ออกแบบ adaptive education platform เพื่อให้บริการแก่ครูและอาจารย์ในประเทศไทย โดยปัจจุบันภายใต้แพลตฟอร์มนี้มีเทคโนโลยีติดตามกระบวนการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิงที่พร้อมให้บริการแล้ว 3 เทคโนโลยี
“เทคโนโลยีแรกคือ BookRoll เทคโนโลยีติดตามการอ่านเอกสารสื่อการเรียนรู้ที่เป็นไฟล์ PDF เพื่อระบุว่าผู้เรียนใช้เวลาอ่านเนื้อหาส่วนไหนมากเป็นพิเศษ มีการขีดเน้นส่วนสำคัญและส่วนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจไว้ตรงจุดไหนบ้าง เทคโนโลยีที่สอง KidBright Simulator เทคโนโลยีติดตามการเรียนรู้ทักษะโค้ดดิง (coding) ผ่านการฝึกเขียนโค้ดในรูปแบบบล็อก (Blockly) โดยระบบจะติดตามความเร็วในการต่อบล็อกแต่ละส่วน จุดที่นำบล็อกออกแล้วต่อใหม่ รวมถึงช่วยนับจำนวนบล็อกที่ใช้ต่อทั้งหมด ซึ่งการติดตามทั้งหมดนี้จะช่วยประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจเรื่องการเขียนโค้ดของผู้เรียนได้ ส่วนเทคโนโลยีที่สามที่พร้อมให้บริการแล้วคือ Abdul for Education เทคโนโลยีติดตามการตอบคำถามในระบบแชตบอตเพื่อวัดความเข้าใจ ระบบจะติดตามว่าคำตอบที่ผู้เรียนเลือกหรือพิมพ์ตอบนั้นถูกต้องหรือแสดงถึงความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนหรือไม่ ด้วยเครื่องมือทั้งหมดนี้จะช่วยให้ทั้งผู้เรียน ผู้สอน รวมถึงผู้ออกแบบเนื้อหาทราบถึงปัญหาที่ผู้เรียนกำลังเผชิญได้ทันที และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ทีมวิจัยยังมีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีติดตามการเรียนรู้ผ่านคลิปวิดีโอเพิ่มเติมด้วย
“หากในอนาคตผู้ออกแบบเนื้อหาจัดทำโครงสร้างของเนื้อหาตลอดหลักสูตรอย่างละเอียดและนำโครงสร้างเหล่านั้นเข้าสู่แพลตฟอร์ม ก็จะเอื้อให้แพลตฟอร์มแนะนำให้ผู้เรียนทราบโดยอัตโนมัติว่าจากปัญหาที่ผู้เรียนกำลังเผชิญควรทบทวนหรือศึกษาเพิ่มเติมเรื่องใด เช่น ผู้เรียนกำลังฝึกทำโจทย์วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง error identification ซึ่งจากการตอบคำถามของผู้เรียนทำให้ระบบพบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่อง past tense และ past perfect tense อย่างมีนัยสำคัญ ระบบก็จะแนะนำเนื้อหาทั้ง 2 ส่วนนี้ให้ผู้เรียนใช้ทบทวนใหม่โดยอัตโนมัติ”
ติดตามง่าย เห็นภาพรวม
ดร.เสาวลักษณ์ เล่าว่า adaptive education platform ผ่านการออกแบบเพื่อช่วยลดเวลาการติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบรายบุคคล ดังนั้นระบบทั้งหมดจึงเป็นระบบอัตโนมัติ เมื่อครูหรืออาจารย์นำสื่อการเรียนรู้เข้าสู่แพลตฟอร์ม แล้วส่งลิงก์ของเนื้อหาให้ผู้เรียนทุกคนใช้เข้าสู่ระบบเพื่อเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ระบบจะติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลแบบอัตโนมัติ และสรุปผลการเรียนรู้ให้ทั้งผู้เรียนและผู้จัดการเรียนการสอนทราบทันทีในรูปแบบแดชบอร์ด (dashboard) วิเคราะห์และสรุปผล
“การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิงผ่าน adaptive education platform นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นการบ้าน และเป็นโจทย์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตัวเองนอกเวลาในชั้นเรียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สอน ซึ่งจุดเด่นของระบบอีเลิร์นนิงคือ ผู้เรียนใช้ศึกษาหรือทบทวนซ้ำด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา และยังเอื้อให้ผู้เรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพได้ด้วย”
ปัจจุบันทีมวิจัยเริ่มนำระบบ adaptive education platform ไปทดสอบให้บริการแก่อาจารย์และนักเรียนจำนวน 600 คน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราแล้ว โดยหลักสูตรที่ให้บริการขณะนี้มี 2 หลักสูตร คือ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและการฝึกทักษะโค้ดดิ้งโดยทั้งสองหลักสูตรได้รับการสนับสนุนจาก EEC
“นอกจากนี้ทีมวิจัยกำลังดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาของประเทศไทย เช่น สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนให้แก่ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษาไทย โดยทีมวิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านการขยายผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยมากที่สุด” ดร.เสาวลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีนี้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อีเมล ae@nectec.or.th
เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์
ภาพประกอบโดย ภัทรา สัปปินันทน์ และ Shutterstock
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
02 มกราคม 2568
• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
Abdul for Education , adaptive education , Adaptive Education Platform , BookRoll, Coding , e-Learning , KidBright Simulator, Sci Update , การศึกษา , โค้ด, โค้ดดิง
• ราคาของผลงานนวัตกรรม :
ยังไม่ได้กำหนดราคา
สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+
ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
‘Adaptive Education Platform’ ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับผู้เรียนรายบุคคล
• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา
• ชื่อเจ้าของข้อมูล :
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• สาขา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
• ประเภทผลงานนวัตกรรม :
งานวิจัย
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
ดิจิทัล
• ระดับนวัตกรรม :
• ความต้องการจำหน่าย :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
วันที่เผยแพร่: 02 มกราคม 2568
|
ผู้เยี่ยมชม: 33
ผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจ
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf
แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf