ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-
• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม
นักวิจัย สวทช. มุ่งแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาด พัฒนา “Eco-Pest” สารเสริมประสิทธิภาพทางการเกษตรสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชจากกรดไขมันปาล์ม ออกฤทธิ์ได้ผลดีกับแมลงปากดูดจำพวกเพลี้ย ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เตรียมความพร้อมประเทศไทยยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันมุ่งสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีมูลค่าสูง

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของนานาประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซลลดลง และส่งผลให้เกิดปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาด

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมุ่งวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีมูลค่าสูง หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพทางการเกษตรสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ดร.ชัยยุทธ แซ่กัง นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง เอ็นเทค สวทช. กล่าวว่าจากปัญหาภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการแพร่พันธุ์และระบาดของแมลงศัตรูพืชเป็นอย่างมาก เห็นได้จากตัวเลขการแพร่พันธุ์ของเพลี้ยกระโดดปัจจุบัน ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้ระยะเวลานับตั้งแต่ระยะไข่-โตเต็มวัย ลดลงเหลือเพียง 12 วัน แพร่พันธุ์ได้สูงถึง 5 รุ่น (ประมาณ 1,640 ล้านตัวต่อการทำนาหนึ่งรอบ ที่อุณหภูมิ 38 oC) เมื่อเทียบกับที่อุณหภูมิ 28 oC (ใช้ระยะเวลา 16 วัน แพร่พันธุ์ได้เพียง 3 รุ่น คิดเป็น 8.8 ล้านตัวต่อการทำนาหนึ่งรอบ) เกษตรกรจึงจำเป็นต้องพึ่งการใช้/นำเข้าสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นทุกปี จาก 39,634 ตันของสารออกฤทธิ์ ในปี พ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านตันของสารออกฤทธิ์ (คิดเป็นมูลค่ารวม 23,906 ล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2566 ในส่วนนี้คิดเป็นมูลค่านำเข้าสารกำจัดแมลง 22,559 ตัน มูลค่า 5,740 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นกลุ่มสารเคมีสังเคราะห์แบบดั้งเดิมสำหรับกำจัดแมลงและศัตรูพืชมีเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่จะถึงศัตรูเป้าหมาย เนื่องจากปัญหาการยึดเกาะจึงถูกชะล้างจากฝนได้ง่าย เกิดการสะสมสารพิษตกค้างในห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดยทีมวิจัยได้พัฒนา “อีโค-เพสต์” (Eco-Pest) ซึ่งเป็นสารควบคุมและกำจัดแมลงที่ผลิตจากกรดไขมันของปาล์มน้ำมัน



“เรานำน้ำมันปาล์มที่บริสุทธิ์มาผลิตสารเสริมประสิทธิภาพทางการเกษตรสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัย โดยสารเสริมประสิทธิภาพทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการเคลือบอุดกั้นทางเดินหายใจ และดูดน้ำออกจากตัวแมลง ซึ่งเป็นวิธีไม่เฉพาะเจาะจงกับกระบวนการทางชีวเคมีใด ๆ ในตัวแมลง ทำให้ Eco-Pest มีข้อดี คือ ปลอดภัยสำหรับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย และสามารถใช้ในการจัดการแมลงที่ดื้อต่อสารเคมีแบบดั้งเดิมได้ โดย Eco-Pest สามารถควบคุมและกำจัดแมลงปากดูดได้เทียบเท่ากับสารเคมีประเภทปิโตรเลียมออยล์หรือไวต์ออยล์ (White oil) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะโรงเรือนแปลงทดลอง โดยที่ Eco-pest ออกฤทธิ์กำจัดแมลงประเภทปากดูดได้มากกว่า 97% ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง อีกทั้งมีจุดเด่นเหนือกว่าปิโตรเลียมออยล์คือไม่ต้องผสมสารเคมีอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่เติมน้ำแล้วก็ฉีดพ่นได้เลย แต่หากเป็นปิโตรเลียมออยล์ จะต้องเติมอิมัลซิไฟเออร์ลงไปด้วย”




จุดเด่นของ Eco-Pest คือใช้กำจัดแมลงและควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชประเภทปากดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น และแมลงหวี่ขาว (ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่พบมากบนพืชผลเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน มะม่วง รวมถึงกล้วยไม้) ออกฤทธิ์กำจัดเพลี้ยแป้งมันได้สูงถึง 92% ภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าสารเคมีกลุ่มไวต์ออยล์ที่กำจัดได้เพียง 35% โดย Eco-Pest ไม่มีความเป็นพิษต่อพืช (Phytotoxicity) ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ทั้งยังช่วยลดการนำเข้าสารเคมีและปิโตรเลียมออยล์ เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นเนื่องจากใช้วัตถุดิบจากพืชที่ปลูกในประเทศ และช่วยยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศ



ดร.ชัยยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าตอนนี้ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ แต่การขยายขนาดการผลิตไปสู่ระดับเชิงพาณิชย์คาดว่าจะทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมากและแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดได้ ซึ่งทีมวิจัยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต Eco-Pest ให้แก่ภาคเอกชน รวมถึงกำลังมองหาพาร์ตเนอร์ร่วมวิจัยเพื่อพัฒนาสูตรใหม่ ๆ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมี อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Eco-Pest เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยเกษตรลดการพึ่งพาสารเคมีที่เป็นพิษ และลดการนำเข้าปิโตรเลียมออยล์ มีความปลอดภัยสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผลิตจากสารธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอน Eco-Pest จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการควบคุมแมลงในระบบการเกษตรที่มุ่งเน้นความปลอดภัยและยั่งยืน ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยในตลาดโลกได้อย่างสอดคล้องกับการพัฒนาตามแนวทางของโดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG economy model)


นวัตกรรม Eco-Pest เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดย ดร.ชัยยุทธ แซ่กัง และทีมวิจัย (ดร.สมศักดิ์ สุภสิทธิ์มงคล ดร.สุภาพร วันสม กนกวรรณ ใหม่แก้ว กิติยาลักษณ์ ป้องโรคา พัลลภา บ่อกลม) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) ร่วมกับ ผศ.ดร. ประกาย ราชณุวงษ์ (ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

ผู้สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ ดร.ชัยยุทธ แซ่กัง เอ็นเทค สวทช. โทร. 0 2564 6500 ต่อ 4714 หรืออีเมล chaiyuth.sae@entec.or.th



เรียบเรียงโดย วีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์คโดย ฉัตรทิพย์ สุริยะ ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่, วัชราภรณ์ สนทนา ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
ภาพประกอบโดย สมชัย เมาไพร และเอ็นเทค สวทช.
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
26 กันยายน 2567
• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
#สารเคมี , #เพลี้ย , #แมลงศัตรูพืช , BCG , ENTEC , NSTDA , น้ำมันปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน , พลังงาน , สิ่งแวดล้อม, เกษตร
• ราคาของผลงานนวัตกรรม :
ยังไม่ได้กำหนดราคา
สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+
ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ! นักวิจัยพัฒนา “Eco-Pest” สารเสริมประสิทธิภาพทางการเกษตรสำหรับควบคุมกำจัดแมลงจากปาล์มน้ำมัน ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• สาขา : ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค)

• ประเภทผลงานนวัตกรรม :
งานวิจัย
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

• ระดับนวัตกรรม :
• ความต้องการจำหน่าย :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น


วันที่เผยแพร่: 26 กันยายน 2567
|
ผู้เยี่ยมชม: 50
ผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf