ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-
• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของโลก โดยผลผลิตส่วนใหญ่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารและพลังงานทดแทน แต่ทุกวันนี้เกษตรกรไทยกำลังเผชิญกับปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาด ภาครัฐจึงเร่งหาทางออกด้วยการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ปาล์มน้ำมันและผลักดันอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีมูลค่าสูง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่น่าจับตามองและมีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต เนื่องจากผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีเป็นที่ต้องการสูงในตลาดโลกและยังเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน (biolubricant base oil) เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากปิโตรเลียม เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันพร้อมทั้งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีมูลค่าสูงของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีเป้าหมายรวม 8 ผลิตภัณฑ์ หนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นพื้นฐาน (base oil) หรือน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานเพิ่มเติมสารเติมแต่งเพื่อการเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเฉพาะทาง ซึ่งปัจจุบันตลาดโลกมีความต้องการน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานมากถึง 14 ล้านตันต่อปี และน้ำมันหล่อลื่นและจาระบี 36 ล้านตันต่อปี (ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2564)
ดร.พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง เอ็นเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน น้ำมันหล่อลื่นส่วนใหญ่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่หมุนเวียนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประมาณร้อยละ 90 และอีกร้อยละ 10 เป็นสารเติมแต่งเพื่อปรับคุณสมบัติให้เหมาะสมต่อประเภทการใช้งาน อย่างไรก็ตาม การนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพมีข้อเสียคือน้ำมันปาล์มมีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่อุณหภูมิห้อง และมีเสถียรภาพต่ำ ดังนั้นทีมวิจัยจึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์เพื่อปรับโครงสร้างทางเคมี ให้มีคุณสมบัติด้านการไหลเทที่ดีขึ้น คือไม่เกิดการแข็งตัวในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน และมีเสถียรภาพสูงขึ้น ทำให้ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี
“น้ำมันปาล์มรีไฟน์ที่กลั่นได้จากน้ำมันปาล์มดิบมีจุดไหลเทประมาณ 23 องศาเซลเซียส แต่เมื่อผ่านกระบวนการดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีแล้วจะมีจุดไหลเทที่ต่ำลง ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจนได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่มีจุดไหลเทลดต่ำลงเท่ากับ -33 ถึง -9 องศาเซลเซียส นำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพได้โดยไม่เกิดปัญหาการแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้น้ำมันจากพืชยังมีโครงสร้างที่เสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อเจอปฏิกิริยาออกซิเดชันและความร้อน แต่เมื่อนำมาผ่านการแปลงโครงสร้างทางเคมีแล้ว ทำให้มีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันและความร้อนสูงขึ้นมากกว่าน้ำมันจากพืชทั่วไปถึง 4 เท่า”
ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานตามมาตรฐานเดียวกับน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากปิโตรเลียม เพื่อเปรียบเทียบสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง ซึ่งผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่ได้มีคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นที่ดีกว่าน้ำมันจากปิโตรเลียม ค่าดัชนีความหนืดสูง มีเสถียรภาพดีกว่าน้ำมันจากพืช และมีจุดไหลเทต่ำเทียบเท่ากับน้ำมันจากปิโตรเลียม
“เรายังต้องทดสอบน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพกับสารเติมแต่งทางการค้าต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ผลิตจากปาล์มสามารถใช้สารเติมแต่งทางการค้าที่มีอยู่เดิมได้ โดยเราคำนึงถึงการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสารเติมแต่งที่เราเลือกนำมาใช้จึงเป็นสารกลุ่มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพด้วย และในเฟสถัดไปทีมวิจัยตั้งเป้าที่จะร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ร่วมวิจัยพัฒนายกระดับการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานจริง หากการพัฒนาประสบความสำเร็จ น้ำมันหล่อล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจะเป็นอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีใหม่ของไทย เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมประเภทนี้ และต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากต่างประเทศ การผลิตเองภายในประเทศจะช่วยลดการนำเข้า เกิดการจ้างงาน และสร้างเสถียรภาพให้กับราคาปาล์มน้ำมันได้ ซึ่งเพียงแค่ผลิตจากวัตถุดิบจากภาคการเกษตรสำหรับใช้ในประเทศทดแทนการนำเข้าก็สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นกลุ่มที่เราสนใจ ได้แก่ กลุ่มน้ำมันตัดกลึงโลหะ น้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันเครื่อง และน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมต่างๆ” ดร.พรประภา กล่าว
โครงการพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากน้ำมันปาล์มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้นและรักษาเสถียรภาพของราคาปาล์มน้ำมัน เป็นผลดีทั้งต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศในภาพรวม
ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เป็นผลมาจาการใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นปัจจัยหนุนให้อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีเติบโตและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ผลิตพืชน้ำมันเป็นจำนวนมาก การนำพืชน้ำมันเหล่านี้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมที่สนใจร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน ติดต่อได้ที่ ดร.พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ เอ็นเทค สวทช. โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4690 หรืออีเมล pawnprapa.pit@entec.or.th
เรียบเรียงโดย วีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรกร กลิ่นหอม ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่ สวทช.
ภาพประกอบโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน (biolubricant base oil) เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากปิโตรเลียม เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันพร้อมทั้งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีมูลค่าสูงของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีเป้าหมายรวม 8 ผลิตภัณฑ์ หนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นพื้นฐาน (base oil) หรือน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานเพิ่มเติมสารเติมแต่งเพื่อการเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเฉพาะทาง ซึ่งปัจจุบันตลาดโลกมีความต้องการน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานมากถึง 14 ล้านตันต่อปี และน้ำมันหล่อลื่นและจาระบี 36 ล้านตันต่อปี (ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2564)
ดร.พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง เอ็นเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน น้ำมันหล่อลื่นส่วนใหญ่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่หมุนเวียนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประมาณร้อยละ 90 และอีกร้อยละ 10 เป็นสารเติมแต่งเพื่อปรับคุณสมบัติให้เหมาะสมต่อประเภทการใช้งาน อย่างไรก็ตาม การนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพมีข้อเสียคือน้ำมันปาล์มมีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่อุณหภูมิห้อง และมีเสถียรภาพต่ำ ดังนั้นทีมวิจัยจึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์เพื่อปรับโครงสร้างทางเคมี ให้มีคุณสมบัติด้านการไหลเทที่ดีขึ้น คือไม่เกิดการแข็งตัวในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน และมีเสถียรภาพสูงขึ้น ทำให้ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี
“น้ำมันปาล์มรีไฟน์ที่กลั่นได้จากน้ำมันปาล์มดิบมีจุดไหลเทประมาณ 23 องศาเซลเซียส แต่เมื่อผ่านกระบวนการดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีแล้วจะมีจุดไหลเทที่ต่ำลง ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจนได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่มีจุดไหลเทลดต่ำลงเท่ากับ -33 ถึง -9 องศาเซลเซียส นำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพได้โดยไม่เกิดปัญหาการแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้น้ำมันจากพืชยังมีโครงสร้างที่เสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อเจอปฏิกิริยาออกซิเดชันและความร้อน แต่เมื่อนำมาผ่านการแปลงโครงสร้างทางเคมีแล้ว ทำให้มีเสถียรภาพต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันและความร้อนสูงขึ้นมากกว่าน้ำมันจากพืชทั่วไปถึง 4 เท่า”
ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานตามมาตรฐานเดียวกับน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากปิโตรเลียม เพื่อเปรียบเทียบสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง ซึ่งผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่ได้มีคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นที่ดีกว่าน้ำมันจากปิโตรเลียม ค่าดัชนีความหนืดสูง มีเสถียรภาพดีกว่าน้ำมันจากพืช และมีจุดไหลเทต่ำเทียบเท่ากับน้ำมันจากปิโตรเลียม
“เรายังต้องทดสอบน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพกับสารเติมแต่งทางการค้าต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ผลิตจากปาล์มสามารถใช้สารเติมแต่งทางการค้าที่มีอยู่เดิมได้ โดยเราคำนึงถึงการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสารเติมแต่งที่เราเลือกนำมาใช้จึงเป็นสารกลุ่มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพด้วย และในเฟสถัดไปทีมวิจัยตั้งเป้าที่จะร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ร่วมวิจัยพัฒนายกระดับการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานจริง หากการพัฒนาประสบความสำเร็จ น้ำมันหล่อล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจะเป็นอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีใหม่ของไทย เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมประเภทนี้ และต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากต่างประเทศ การผลิตเองภายในประเทศจะช่วยลดการนำเข้า เกิดการจ้างงาน และสร้างเสถียรภาพให้กับราคาปาล์มน้ำมันได้ ซึ่งเพียงแค่ผลิตจากวัตถุดิบจากภาคการเกษตรสำหรับใช้ในประเทศทดแทนการนำเข้าก็สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นกลุ่มที่เราสนใจ ได้แก่ กลุ่มน้ำมันตัดกลึงโลหะ น้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันเครื่อง และน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมต่างๆ” ดร.พรประภา กล่าว
โครงการพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากน้ำมันปาล์มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้นและรักษาเสถียรภาพของราคาปาล์มน้ำมัน เป็นผลดีทั้งต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศในภาพรวม
ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เป็นผลมาจาการใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นปัจจัยหนุนให้อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีเติบโตและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ผลิตพืชน้ำมันเป็นจำนวนมาก การนำพืชน้ำมันเหล่านี้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมที่สนใจร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน ติดต่อได้ที่ ดร.พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ เอ็นเทค สวทช. โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4690 หรืออีเมล pawnprapa.pit@entec.or.th
เรียบเรียงโดย วีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรกร กลิ่นหอม ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่ สวทช.
ภาพประกอบโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
05 ธันวาคม 2567
• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
biolubricant base oil , ENTEC , NSTDA , น้ำมันปาล์ม , น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพ
• ราคาของผลงานนวัตกรรม :
ยังไม่ได้กำหนดราคา
สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+
ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
สวทช.พัฒนา “น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพ” จากปาล์มน้ำมัน มุ่งผลักดันโอเลโอเคมีมูลค่าสูง
• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• ชื่อเจ้าของข้อมูล :
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• สาขา : ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค)
• ประเภทผลงานนวัตกรรม :
งานวิจัย
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
• ระดับนวัตกรรม :
• ความต้องการจำหน่าย :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
วันที่เผยแพร่: 05 ธันวาคม 2567
|
ผู้เยี่ยมชม: 174
ผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf