ข้อมูลบริการด้านนวัตกรรม-
• รายละเอียดของบริการ
ในปัจจุบันประชาชนและผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อขอใบอนุญาต หนังสือรับรอง หรือขอรับบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การขอรับความช่วยเหลือ หรือการประกอบกิจการ และเนื่องด้วยการขอใบอนุญาต ขอหนังสือรับรอง หรือขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐดังกล่าว มีที่มาจากกฎหมายต่างฉบับ จากต่างหน่วยงาน และกฎหมายบางฉบับอาจไม่ได้กำหนดรายละเอียด แบบฟอร์ม เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ต้องใช้ยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงไม่ได้มีการกําหนดข้ันตอนในการพิจารณาของ เจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จนทําให้เป็นการสร้างภาระและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อ ดําเนินการต่างๆ เกินสมควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ และ ทําให้ประเทศไทยเสียโอกาสทางการค้าและการแข่งขันกับประเทศต่างๆ

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มีเจตนารมณ์สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้การติดต่อกับทางราชการ “เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) ถูกลง (cheaper)” และมุ่งให้การปฏิบัติราชการเป็นไปเพื่อความโปร่งใส การรับผิดชอบ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้กำหนดให้มีการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนที่กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้ชัดเจน และจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้อง และศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อบริการประชาชนและให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาต

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้ร่วมกันพัฒนา ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th) ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ และเป็นช่องทางให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ โดยเริ่มให้บริการระบบดังกล่าวตั้งแต่ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.​ 2558 และมีการปรับปรุงระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตั้งที่ 1/2561 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 362/2560 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 เรื่อง การปรับปรุงคู่มือประชาชนเพื่อยกเลิกการเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชน อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งให้หน่วยงานภาครัฐที่มีจุดบริการประชาชนทั่วประเทศร่วมกันปักหมุด เพื่อจัดเก็บตำแหน่งที่อยู่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เป็นต้น
ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ
ประชาชน

ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการได้ “เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) ถูกลง (cheaper)” กล่าวคือ ประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลการให้บริการของภาครัฐที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจนผ่านคู่มือสำหรับประชาชน สามารถทราบช่องทางในการให้บริการต่าง ๆ จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้ให้ครบถ้วน (ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาติดต่อหลายรอบ) ขั้นตอนและระยะเวลาที่ต้องใช้ รวมถึงหากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการติดต่อ สามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ใดบ้าง

หน่วยงานภาครัฐ

การบริการประชาชน มีรายละเอียด ขั้นตอนที่ชัดเจน การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

หน่วยงานกลาง

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สามารถตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กรณีที่เห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ผู้อนุญาตดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว

ลักษณะเชิงเทคนิค
ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th) จัดทำขึ้นในลักษณะระบบฐานข้อมูลกลางที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำเข้า และปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้ โดยมีความสามารถโดยสังเขป ดังนี้

ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับประชาชน

สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ เพื่อติดต่อราชการได้ โดยข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมถึง
ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมถึง ชื่อหน่วยงาน สังกัด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ คู่มือประชาน/บริการต่าง ๆ ที่ให้บริการ และจุดให้บริการต่าง ๆ ของหน่วยงาน
ข้อมูลจุดให้บริการประชาชน ซึ่งมีข้อมูลที่ครอบคลุมถึง ชื่อจุดให้บริการ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ คู่มือประชาน/บริการต่าง ๆ ที่ให้บริการ และพิกัดของจุดให้บริการ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อนำทางประชาชนไปสู่จุดให้บริการประชาชนได้
ข้อมูลคู่มือประชาชน ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และข้อมูลบริการประชาชน ซึ่งครอบคลุมข้อมูลต่าง ๆ เช่น แบบฟอร์ม เอกสาร/หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ ค่าธรรมเนียม ระยะเวลาที่ใช้ รวมถึงลิงค์เพื่อเข้าถึงช่องทางในการให้บริการออนไลน์ของหน่วยงาน (ถ้ามี)
ข้อมูลบทความแนะนำให้รู้จักบริการของภาครัฐ โดยเป็นบทความที่จัดทำขึ้นด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และสามารถเชื่อมต่อไปยังคู่มือประชาชน/บริการต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ทันที
สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อติดต่อราชการได้
สามารถเข้าถึงข้อมูลคู่มือประชาชน และข้อมูลบริการประชาชนจากกลุ่มเป้าหมาย หรือหมวดหมู่ที่ตนสนใจได้
สามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อราชการได้
สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาช่วยในการแนะนำบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนได้ เช่น ข้อมูลบริการที่ใช้บ่อย (Frequently Used Services) บริการที่เกี่ยวข้องกับบริการนี้ (Recommendations) เป็นต้น
ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

สามารถปรับปรุงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐให้เป็นปัจจุบันได้
สามารถเพิ่ม ปรับปรุง หรือลบข้อมูลจุดให้บริการประชาชนได้
สามารถเพิ่ม ปรับปรุง หรือยกเลิกคู่มือประชาชน/บริการประชาชนของหน่วยงานตนได้
สามารถกำหนดป้ายคำ (Tag) สำหรับคู่มือประชาชน/บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงคู่มือฯ หรือบริการฯ ดังกล่าว ด้วยภาษาที่ใช้กันโดยทั่วไปได้ เช่น “บัตรประชาชน” “ใบขับขี่” แทนการใช้ข้อความที่เป็นทางการ เช่น “บัตรประจำตัวประชาชน” “ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะ” เป็นต้น
สามารถ “ปักหมุดจุดให้บริการประชาชน” กล่าวคือ เชื่อมโยงข้อมูลคู่มือประชาชน/บริการประชาชนไปยังแต่ละจุดให้บริการประชาชนได้
สามารถเรียกดูผลการประเมินความพึงพอใจ หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ในการติดต่อราชการจากประชาชนของหน่วยงาน/จุดให้บริการประชาชนที่ตนรับผิดชอบได้
สามารถบันทึกข้อมูลปริมาณการทำธุรกรรม (Transaction Reports) ตามรูปแบบและแนวทางที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดได้
สามารถบันทึกข้อมูลเรื่องล่าช้าตามที่ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนดได้
สมารถกำหนดสิทธิให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้ดูแลข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตนรับผิดชอบได้ เช่น กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลจุดให้บริการประชาชนบางจุด หรือกำหนดให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลคู่มือประชาชน/จุดให้บริการประชาชน ได้
ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกลาง

สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลหน่วยงาน จุดให้บริการ คู่มือ/บริการประชาชนได้
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลผลการประเมินความพึงพอใจจากประชาชน
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลข้อมูลปริมาณการทำธุรกรรม จำแนกตามหน่วยงาน และบริการได้
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลเรื่องล่าช้าตามที่ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนดได้
สามารถกำหนดสิทธิเจ้าหน้าที่ในระดับหน่วยงานได้
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มาตรา 7

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลทางดิจิทัล ติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์ที่ให้บริการ และบริหารจัดการ โดย สพร. ระบบคลาวด์ภาครัฐดังกล่าวมีระดับเสถียรภาพ (SLA) ไม่น้อยกว่า 99.5% และเป็นระบบที่มีมาตรการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลอย่างรัดกุม มีความปลอดภัยสูง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013 ระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management Systems – ISMS)

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน และระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

นอกจากนี้ ระบบฯ ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ ดังนี้

1. การพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ ของ สพร. ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 9001
2. ก่อนที่จะเปิดแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริการจริง แอปพลิเคชันระบบ และแพลตฟอร์มดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบ ทั้งในด้านคุณสมบัติ (Functional Test) และด้านอื่นๆ (Non-Functional Test) เช่น Performance Test และ Security Test โดยผลการทดสอบต้องแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้โดยสมบูรณ์ มีระดับความมั่นคงสูง (Highly Available) มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่ำ

สพร. ทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม (Security Test) โดยใช้อย่างน้อย 2 วิธี ดังนี้

1. วิธี Static Application Security Testing (SAST) ซึ่งเป็นการตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มที่เขียนขึ้น ว่าเป็นการเขียนโปรแกรมที่มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี หรือถูกเจาะโดยผู้ไม่หวังดีมากน้อยเพียงใด

2. วิธี Vulnerability Assessment (VA) ซึ่งเป็นการตรวจสอบแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่ติดตั้งแล้วในภาพรวม ว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีเนื่องจากการตั้งค่า (Settings) ต่างๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

การติดต่อขอใช้บริการ
ประชาชนทั่วไปที่สนใจใช้บริการ สามารถเข้าใช้งานได้ทันทีที่เว็บไซต์ https://info.go.th
หน่วยงานภาครัฐที่สนใจใช้บริการ ติดต่อได้ที่ DGA Contact Center โทร 02-612-6060 หรือ อีเมล contact@dga.or.th
รายละเอียดเพิ่มเติม
เอกสารนำเสนอบริการ https://docs.google.com/presentation/d/1y7yFzSrl5_HgYDELp3Uk1j0gdw4lwUG7pu3VO_VsgKI/edit?usp=sharing
วิดีทัศน์รายละเอียดบริการ https://www.youtube.com/watch?v=z-YfS28cIXs
• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• Keyword :
info, ติดต่อราชการ, ระบบศูนย์รวมข้อมูล
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th)

ในปัจจุบันประชาชนและผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อขอใบอนุญาต หนังสือรับรอง หรือขอรับบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การขอรับความช่วยเหลือ หรือการประกอบกิจการ และเนื่องด้วยการขอใบอนุญาต ขอหนังสือรับรอง หรือขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐดังกล่าว มีที่มาจากกฎหมายต่างฉบับ จากต่างหน่วยงาน และกฎหมายบางฉบับอาจไม่ได้กำหนดรายละเอียด แบบฟอร์ม เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ต้องใช้ยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงไม่ได้มีการกําหนดข้ันตอนในการพิจารณาของ เจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จนทําให้เป็นการสร้างภาระและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อ ดําเนินการต่างๆ เกินสมควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ และ ทําให้ประเทศไทยเสียโอกาสทางการค้าและการแข่งขันกับประเทศต่างๆ

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มีเจตนารมณ์สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้การติดต่อกับทางราชการ “เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) ถูกลง (cheaper)” และมุ่งให้การปฏิบัติราชการเป็นไปเพื่อความโปร่งใส การรับผิดชอบ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้กำหนดให้มีการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนที่กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้ชัดเจน และจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้อง และศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อบริการประชาชนและให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาต

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้ร่วมกันพัฒนา ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th) ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ และเป็นช่องทางให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ โดยเริ่มให้บริการระบบดังกล่าวตั้งแต่ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.​ 2558 และมีการปรับปรุงระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตั้งที่ 1/2561 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 362/2560 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 เรื่อง การปรับปรุงคู่มือประชาชนเพื่อยกเลิกการเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชน อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งให้หน่วยงานภาครัฐที่มีจุดบริการประชาชนทั่วประเทศร่วมกันปักหมุด เพื่อจัดเก็บตำแหน่งที่อยู่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เป็นต้น
ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ
ประชาชน

ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการได้ “เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) ถูกลง (cheaper)” กล่าวคือ ประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลการให้บริการของภาครัฐที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจนผ่านคู่มือสำหรับประชาชน สามารถทราบช่องทางในการให้บริการต่าง ๆ จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้ให้ครบถ้วน (ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาติดต่อหลายรอบ) ขั้นตอนและระยะเวลาที่ต้องใช้ รวมถึงหากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการติดต่อ สามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ใดบ้าง

หน่วยงานภาครัฐ

การบริการประชาชน มีรายละเอียด ขั้นตอนที่ชัดเจน การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

หน่วยงานกลาง

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สามารถตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กรณีที่เห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ผู้อนุญาตดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว

ลักษณะเชิงเทคนิค
ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th) จัดทำขึ้นในลักษณะระบบฐานข้อมูลกลางที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำเข้า และปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้ โดยมีความสามารถโดยสังเขป ดังนี้

ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับประชาชน

สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ เพื่อติดต่อราชการได้ โดยข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมถึง
ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมถึง ชื่อหน่วยงาน สังกัด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ คู่มือประชาน/บริการต่าง ๆ ที่ให้บริการ และจุดให้บริการต่าง ๆ ของหน่วยงาน
ข้อมูลจุดให้บริการประชาชน ซึ่งมีข้อมูลที่ครอบคลุมถึง ชื่อจุดให้บริการ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ คู่มือประชาน/บริการต่าง ๆ ที่ให้บริการ และพิกัดของจุดให้บริการ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อนำทางประชาชนไปสู่จุดให้บริการประชาชนได้
ข้อมูลคู่มือประชาชน ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และข้อมูลบริการประชาชน ซึ่งครอบคลุมข้อมูลต่าง ๆ เช่น แบบฟอร์ม เอกสาร/หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ ค่าธรรมเนียม ระยะเวลาที่ใช้ รวมถึงลิงค์เพื่อเข้าถึงช่องทางในการให้บริการออนไลน์ของหน่วยงาน (ถ้ามี)
ข้อมูลบทความแนะนำให้รู้จักบริการของภาครัฐ โดยเป็นบทความที่จัดทำขึ้นด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และสามารถเชื่อมต่อไปยังคู่มือประชาชน/บริการต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ทันที
สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อติดต่อราชการได้
สามารถเข้าถึงข้อมูลคู่มือประชาชน และข้อมูลบริการประชาชนจากกลุ่มเป้าหมาย หรือหมวดหมู่ที่ตนสนใจได้
สามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อราชการได้
สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาช่วยในการแนะนำบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนได้ เช่น ข้อมูลบริการที่ใช้บ่อย (Frequently Used Services) บริการที่เกี่ยวข้องกับบริการนี้ (Recommendations) เป็นต้น
ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

สามารถปรับปรุงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐให้เป็นปัจจุบันได้
สามารถเพิ่ม ปรับปรุง หรือลบข้อมูลจุดให้บริการประชาชนได้
สามารถเพิ่ม ปรับปรุง หรือยกเลิกคู่มือประชาชน/บริการประชาชนของหน่วยงานตนได้
สามารถกำหนดป้ายคำ (Tag) สำหรับคู่มือประชาชน/บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงคู่มือฯ หรือบริการฯ ดังกล่าว ด้วยภาษาที่ใช้กันโดยทั่วไปได้ เช่น “บัตรประชาชน” “ใบขับขี่” แทนการใช้ข้อความที่เป็นทางการ เช่น “บัตรประจำตัวประชาชน” “ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะ” เป็นต้น
สามารถ “ปักหมุดจุดให้บริการประชาชน” กล่าวคือ เชื่อมโยงข้อมูลคู่มือประชาชน/บริการประชาชนไปยังแต่ละจุดให้บริการประชาชนได้
สามารถเรียกดูผลการประเมินความพึงพอใจ หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ในการติดต่อราชการจากประชาชนของหน่วยงาน/จุดให้บริการประชาชนที่ตนรับผิดชอบได้
สามารถบันทึกข้อมูลปริมาณการทำธุรกรรม (Transaction Reports) ตามรูปแบบและแนวทางที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดได้
สามารถบันทึกข้อมูลเรื่องล่าช้าตามที่ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนดได้
สมารถกำหนดสิทธิให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้ดูแลข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตนรับผิดชอบได้ เช่น กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลจุดให้บริการประชาชนบางจุด หรือกำหนดให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลคู่มือประชาชน/จุดให้บริการประชาชน ได้
ความสามารถของระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกลาง

สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลหน่วยงาน จุดให้บริการ คู่มือ/บริการประชาชนได้
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลผลการประเมินความพึงพอใจจากประชาชน
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลข้อมูลปริมาณการทำธุรกรรม จำแนกตามหน่วยงาน และบริการได้
สามารถดูข้อมูลสถิติ และตรวจสอบข้อมูลเรื่องล่าช้าตามที่ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนดได้
สามารถกำหนดสิทธิเจ้าหน้าที่ในระดับหน่วยงานได้
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มาตรา 7

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลทางดิจิทัล ติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์ที่ให้บริการ และบริหารจัดการ โดย สพร. ระบบคลาวด์ภาครัฐดังกล่าวมีระดับเสถียรภาพ (SLA) ไม่น้อยกว่า 99.5% และเป็นระบบที่มีมาตรการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลอย่างรัดกุม มีความปลอดภัยสูง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013 ระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management Systems – ISMS)

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน และระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

นอกจากนี้ ระบบฯ ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ ดังนี้

1. การพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ ของ สพร. ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 9001
2. ก่อนที่จะเปิดแอปพลิเคชัน ระบบและแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริการจริง แอปพลิเคชันระบบ และแพลตฟอร์มดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบ ทั้งในด้านคุณสมบัติ (Functional Test) และด้านอื่นๆ (Non-Functional Test) เช่น Performance Test และ Security Test โดยผลการทดสอบต้องแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้โดยสมบูรณ์ มีระดับความมั่นคงสูง (Highly Available) มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่ำ

สพร. ทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม (Security Test) โดยใช้อย่างน้อย 2 วิธี ดังนี้

1. วิธี Static Application Security Testing (SAST) ซึ่งเป็นการตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มที่เขียนขึ้น ว่าเป็นการเขียนโปรแกรมที่มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี หรือถูกเจาะโดยผู้ไม่หวังดีมากน้อยเพียงใด

2. วิธี Vulnerability Assessment (VA) ซึ่งเป็นการตรวจสอบแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่ติดตั้งแล้วในภาพรวม ว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีเนื่องจากการตั้งค่า (Settings) ต่างๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

การติดต่อขอใช้บริการ
ประชาชนทั่วไปที่สนใจใช้บริการ สามารถเข้าใช้งานได้ทันทีที่เว็บไซต์ https://info.go.th
หน่วยงานภาครัฐที่สนใจใช้บริการ ติดต่อได้ที่ DGA Contact Center โทร 02-612-6060 หรือ อีเมล contact@dga.or.th
รายละเอียดเพิ่มเติม
เอกสารนำเสนอบริการ https://docs.google.com/presentation/d/1y7yFzSrl5_HgYDELp3Uk1j0gdw4lwUG7pu3VO_VsgKI/edit?usp=sharing
วิดีทัศน์รายละเอียดบริการ https://www.youtube.com/watch?v=z-YfS28cIXs

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ


ผู้เยี่ยมชม: 91
บริการด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf